บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2021
รูปภาพ
  ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 16 วันที่ 7 ตุลาคม 2564 ร่วมกันจัดทำเล่มรายงาน                    ทุกคนในทีมช่วยการทำงานในส่วนที่ได้แบ่งมาก่อนหน้านี้ ในหัวข้อที่ตนเองทำแล้วรู้สึกไม่เข้าใจก็สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแชร์ร่วมกันเพื่อที่จะได้เกิดการทำงานอย่างรวดเร็ว ซึ่งในครั้งนี้ได้เริ่มทำในบทที่ 4 ผลการศึกษา มีดังนี้ 1.ผลการพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง 2 ผลการประเมินบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง         ส่วนบทที่ 5  บทที่ 5  สรุป และข้อเสนอแนะ จะมีดังนี้ 1. เกริ่นนำ 2. ความสำคัญ 3. วัตถุประสงค์ 4. ขั้นตอนการศึกษาโครงงาน 5. สรุปผลการศึกษา 6. ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน 7. แนวทางการนำไปประยุกต์ใช้ในวิชาชีพครู และ 8. ข้อเสนอแนะ
รูปภาพ
    ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 15 วันที่ 30 กันยายน 2564 ร่วมกันพัฒนาบทเรียน E-learning       สมาชิกทุกคนร่วมกันทำงานใน Google Meet เพื่อที่จะได้ง่ายต่อการประสานงานว่ามีส่วนไหนที่ต้องเพิ่มหรือแก้ไข หลังจากที่ทุกคนช่วยกันทำงานในระหว่างนั้นก็ได้พูดคุยในส่วนของการเขียนโครงงานในบทที่ 4,5 และบรรณานุกรมและภาคผนวกเพื่อที่จะได้เกิดการทำงานรวดเร็วและเกิดการทำงานกันเป็นทีม
รูปภาพ
ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 14 วันที่ 23 กันยายน 2564 ร่วมกันพัฒนาบทเรียน E-learning      สมาชิกในกลุ่มได้มีการทำงานร่วมกัน ผ่าน Google Meet  เพื่อเพิ่มเนื้อหาขของข้อมูลในส่วนต่าง ๆ ในระบบให้ครบสมบูรณ์อย่างที่ได้กำหนดไว้     
รูปภาพ
  ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 13 วันที่ 16 กันยายน 2564 นำเสนอบทที่ 2 - 3    ทั้งกลุ่ม1-6 ได้นำเสนอความก้าวหน้าของโครงงานที่ได้ทำไว้โดยในเนื้อหา บทที่ 2-3 จะมีรายละเอียดดังนี้   บทที่ 2  ทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง              -ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ออนไลน์              -ระบบอีเลิร์นนิ่ง             -ขั้นตอนการพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง             -เนื้อหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (ระบุหัวข้อ)             -งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง      (เนิ้อหาบท2ขึ้นอยู่กับแต่ละกลุ่มว่าจะใส่อะไรเพื่อให้ตรงกับเรื่องที่ทำในโครงงาน) และ บทที่ 3 วิธีการศึกษา เป็นขั้นตอนการศึกษาของ ADDIE         หลังจากที่ได้นำเสนอ อาจารย์ก็จะให้คำแนะนำในเรื่องของเนื้อหา การนำเสนอ และสไลด์ เพื่อที่แต่ละกลุ่มจะได้นำไปปรับปรุงครั้งต่อไป
รูปภาพ
  ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 12 วันที่ 9 กันยายน 2564 ช่วยกันทำงาน         เริ่มกันประชุมว่าจะจัดวางองค์ประกอบอย่างไร และช่วยกันใส่บทเรียนในบางส่วนและได้เริ่มใส่เนื้อหาบทที่ 2-3 ลงในสไลด์เพื่อที่จะได้นำเสนอในสัปดาห์ถัดไป
รูปภาพ
    ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 11 วันที่ 2 กันยายน 2564 ช่วยกันทำงาน       เนื่องด้วยสถานการณ์โควิดในปัจจุบันจึงทำให้พวกเราไม่สมารถไปทำงานด้วยกันได้ แต่ไม่มีผลอะไรเพราะเราสามารถร่วมกันทำงานแบบออนไลน์ได้          และในวันนี้ได้มีการร่วมกันทำงานผ่าน Google zoom ซึ่งทุกหัวข้อก็ได้จัดแบ่งไว้ก่อนหน้านี้แล้ว แต่ในวันนี้พวกเราทุกคนมาช่วยอ่านและแก้ไขในส่วนที่ยังไม่สมบูรณ์ โดยจัดทำใน บทที่ 2  ทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง และบทที่ 3  วิธีดำเนินการศึกษา
รูปภาพ
  ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 10 วันที่ 26 สิงหาคม 2564 ลงมือปฏิบัติทำแบบทอสอบ         ในวันนี้ทางอาจารย์ผู้สอนได้ให้นักศึกษาทุกคนเตรียมข้อสอบตัวเลือก คนละ 5 ข้อ แบบถูกผิด คนละ 5 ข้อ เพื่อที่จะได้ลงมือปฏิบัติพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นิง smp.yru.ac.th เพื่อที่นักศึกษาทุกคนจะได้เตรียมตัวที่จะดำเนินการไปทำต่อกับโครงงานที่กำลังทำอยู่
รูปภาพ
  ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 9 วันที่ 19 สิงหาคม 2564           สัปดาห์นี้อาจารย์ได้พูดคุยเกี่ยวกับโครงงานและได้ให้ข้อเสนอแนะไว้เพื่อไปปรับแก้งานในครั้งหน้าต่อไป หลังจากนั้นอาจารย์ได้ทำการทดสอบนักศึกษาโดยการทดสอบด้วยโปรแกรม Kahoot เพื่อทบทวนบทที่4 ที่เรียนมาก่อนหน้านี้   อาจารย์ได้สาธิตและให้ผู้เรียนทุกคนลงมือปฏิบัติพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นิงตามโครงงานเรื่องของแต่ละกลุ่มที่ได้เลือกไว้ สอนเกี่ยวกับการเพิ่ม/ลดข้อมูล การจัดวางตำแหน่ง และได้อธิบายเครื่องมือหลักๆในการใช้งานเบื้อง เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาโครงงานของตัวเองต่อไป
รูปภาพ
 ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 8 วันที่ 12 สิงหาคม 2564 วันแม่แห่งชาติ   เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 
 ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 7 วันที่ 5 สิงหาคม 2564  เป็นวันที่ต้องนำเสนอโครงงานบทที่ 1 บทนำ ซึ่งมีหัวข้อการนำเสนอดังนี้   -ความสำคัญและความเป็นมา  - วัตถุประสงค์   -ขอบเขตการศึกษา   -ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ                      ซึ่งอาจารย์ได้แบ่งออเป็น 6 กลุ่มดังนี้ กลุ่ม 1 วิชาวิทยาการคำนวณ เรื่อง เเนวคิดเชิงคำนวณ ม.2 ตัวชี้วัดที่ 1 กลุ่ม 2 วิเคราะห์สาเหตุหรือปัจจัย ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีฯ ม.3 ตัวชี้วัดที่ 1 กลุ่ม 3ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทำงานร่วมกันอย่างปลอดภัยฯป.6ตัวชี้วัดที่4 กลุ่ม 4 วิชาวิทยาการคำนวณ เรื่อง อภิปรายองค์ประกอบและหลักการทำงานคอมฯ ม.2 ตัวชี้วัด 3 กลุ่ม 5 การออกแบบและเทคโนโลยี ชั้น ม.4 กลุ่ม 6 ชาวิทยาการคำนวณเรื่อง ใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัย ม.1
รูปภาพ
  ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 6 วันที่ 29 กรกฎาคม 2564  แบบทดสอบกาฮูด กึ่งนำบทที่4 ทำแบบทดสอบก่อนเรียนบทที่4           ADDIE เป็นรูปแบบการสอนที่ออกแบบขึ้นมา เพื่อใช้ในการออกแบบและพัฒนาระบบการเรียนการสอน โดยอาศัยหลักของวิธีการระบบ (System Approach) ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าสามารถนําไปใช้ออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดีไม่ว่าจะเป็น CAI/ CBT, WBI/WBT หรือ  e-Learning ก็ตาม เนื่องจากเป็นขั้นตอนที่ครอบคลุมกระบวนการทั้งหมด และเป็นระบบปิด (Closed System) โดยพิจารณาจากผลลัพธ์ในขั้นประเมินผลซึ่งเป็นขั้นสุดท้าย และนําข้อมูลไปตรวจปรับ (Feedback) ขั้นตอนที่ผ่านมาทั้งหมด         การออกแบบการเรียนการสอนตามรูปแบบแอดดี (ADDIE model) ประกอบด้วยกิจกรรมใน การดำเนินงาน 5 กิจกรรม ได้แก่ การวิเคราะห์ (analyze) การออกแบบ (design) การพัฒนา (develop) การนำไปใช้ (implement) และการประเมินผล (evaluate) ซึ่งเมื่อพิจารณาให้ดีแล้วมี ลักษณะคล้ายกระบวนการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ เริ่มจากการวิเคราะห์ปัญหา (analyze) การนำเสนอ แนวทางการแก้ปัญหา (design) การเตรียมการแก้ปัญหา (develop) การทดลองการแก้ปัญหา (impl
รูปภาพ
 ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 5 วันที่ 22 กรกฎาคม 2564 เนื่องจากวันพุธ ที่ 21 กรกฎาคม 2564 ตรงกับวันวันอีฎิ้ลอัดฮา เพื่อให้บุคลากรและนักศึกษาได้ดำเนินการปฏิบัติตามศาสนกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลาจึงประกาศงดการเรียนการสอนออนไลน์ ในวันที่ 22-23 กรกฎาคม 2564 โดยให้อาจารย์ผู้สอนจัดการเรียนการสอนตามความเหมาะสมต่อไป 
รูปภาพ
ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 4  รายวิชาระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ 15 กรกฎาคม 2564  e-Learning คือ การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งการเรียนลักษณะนี้ได้มีการนำเข้าสู่ตลาดเมืองไทยในระยะหนึ่งแล้ว เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอม, การเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Learning), การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ การเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์    ในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่มักจะใช้คำว่า e-Learning กับการเรียน การสอน หรือการอบรม ที่ใช้เทคโนโลยีของเว็บ (Web Based Technology) ในการถ่ายทอดเนื้อหา รวมถึงเทคโนโลยีระบบการจัดการหลักสูตร (Course Management System) ในการบริหารจัดการงานสอนด้านต่างๆ โดยผู้เรียนที่เรียนด้วยระบบ e-Learning นี้สามารถศึกษาเนื้อหาในลักษณะออนไลน์ หรือ จากแผ่นซีดี-รอม ก็ได้ และที่สำคัญอีกส่วนคือ เนื้อหาต่างๆ ของ e-Learning สามารถนำเสนอโดยอาศัยเทคโนโลยีมัลติมีเดีย (Mu
รูปภาพ
ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 3   รายวิชาระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ 8 กรกฎาคม 2564  ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาได้ทำแบบทดสอบและทบทวนเนื้อหาบทที่1โดยทำกิจกรรมถามตอบโดยใช้เกมkahootในการตองคำถาม และทำแบบทดสอบก่อนเรียนบทที่2 เริ่มเข้าสู่บทเรียนโดยสัปดาห์นี้เรียนบทที่2 ระบบการเรียนการสอนออนไลน์  การเรียนการสอนออนไลน์ (Online learning) จัดเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาในอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงวิธีเรียนในรูปแบบเดิมๆ ให้เป็นการเรียนใหม่ ที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยทำการสอน นอกจากนี้ความหมายอีกในหนึ่งยังหมายถึง การเรียนทางไกล , การเรียนผ่านเว็บไซต์ อีกด้วย         การเรียนการสอนแบบออนไลน์ (Online learning) จะเป็นเรียนทางผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยอยู่ในรูปแบบของคอมพิวเตอร์ เป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ บวกเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สร้างการศึกษาที่มีปฏิสัมพันธ์คุณภาพสูง โดยไม่จำเป็นต้องเดินทาง เกิดความสะดวกและเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว ทุกสถานที่ ทุกเวลา เป็นการสร้างการศึกษาตลอดชีวิตให้กับประชากร         การเรียนการสอนแบบออนไลน์ เป็นการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ด้วยตนเอง ผู้เรียนสามารถเลือกเรีย
รูปภาพ
  ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 2   รายวิชาระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์            บทที่ 1 บทนำ           จากการเรียนในวันนี้อาจารย์ได้ถึงอธิบายกฎเกณฑ์การเข้าชั้นเรียนในรายวิชาOLMSและอาจารย์ยังได้พูดคุยถึงสถานการณ์ปัจจุบันอีกด้วย (โรคโควิด19) เป็นสิ่งที่เรากำลังประสบปัญหาตอนนี้ และยังอาจารย์ได้สรุปสาระสำคัญของบทที่ 1 บทนำ             ความหมายของการเรียนการสอน หมายถึงการได้รับความรู้ พฤติกรรมทักษะ คุณค่า หรือความพึงพอใจที่เป็นสิ่งแปลกใหม่ด้วยวิธีการถ่ายทอดหรือวิธีการสอนที่หลากหลายรูปแบบให้เหมาะสมตา,ศักยภาพของผู้เรียนโดยใช้ทั ้งศาสตร์ และศิลป์ ของผู้สอน  แนวโน้มของการเรียนรู้ออนไลน์ บทบาทของครูผู้สอนเปลี่ยนไป หลักสูตรปรับเปลี่ยน มีความรู้ ประสบการณ์ทุกที่ในโลกออนไลน์ มีความยืดหยุ่นของรูปแบบการเรียนรู้ เช่น ผู้เรียนสามารถกำหนดความต้องการเองได้ การเข้าถึงเนื้อหาสะดวกมากขึ้น ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย       ข้อดีของการเรียนออนไลน์ ได้แก่ ยืดหยุ่น เข้าถึงสะดวก เรียนได้ตลอดเวลา ผู้เรียนควบคุมการเรียนเอง ประหยัดต้นทุน ขยายกลุ่มผู้เรียนได้จํานวนมาก      ข้อจํากัดของการเรียนออนไลน์ ได้แก่ ใช้เทคโนโลยี ผู้
สรุปผลการเรียนรู้ครั้งที่ 1     รายวิชาระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์  ประจําบทที่1      -การเรียนการสอน หมายถึง การได้รับความรู้ พฤติกรรม ทักษะ คุณค่า หรือความพึงพอใจที่เป็นสิ่งแปลกใหม่ ด้วยวิธีการถ่ายทอด หรือวิธีการสอนที่หลากหลายรูปแบบให้เหมาะสมตามศักยภาพของผู้เรียนโดยใช้ทั้งศาสตร์ และศิลป์ ของผู้สอน      -การจัดการเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนเพื่อที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของผู้สอน      -การจัดการเรียนรู้ มีวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนต้องการให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัยหรือด้านสติปัญญา (Cognitive Domain) ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) และด้านจิตพิสัย (Affective Domain)         ลักษณะของการจัดการเรียนรู้  ที่เด่นชัดอยู่ 3 ลักษณะ คือ    1.การจัดการเรียนรู้เป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน     2.การจัดการเรียนรู้มีจุดประสงค์ให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตาม จุดประสงค์ที่กำหนดไว้โดยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนี้เป็นพฤติกรรมทั้ง 3 ด้าน ได้แก่         2.1 ด้านความรู้ความคิด หรือด้านพุทธิพิสัย